วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

อาหารประจำจังหวัดแพร่

อาหารพื้นเมืองในจังหวัดแพร่

อาหารพื้นเมืองในจังหวัดแพร่

                         อาหารเป็นวัฒนธรรมที่ปรากฏในวิถีชีวิตของชาวจังหวัดแพร่ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีอยู่มากมายรับประทานกับข้าวเหนียวนึ่งเป็นพื้น และนำพืชผักโดยเฉพาะผักพื้นบ้าน เช่น ผักหวาน เห็ดลม เห็ดถอบ เห็ดไข่เหลือง เห็ดโคน สะแล ขนุน งวม ใบม่วง ออกพร้าว(ยอดมะพร้าวอ่อน) ผักสลิดยอกแซ่ว มะค้อมก้อม(มะรุม) มะข้าว หน่อไม้ ผักหละ(ชะอม) ผักปั๋ง(ตำลึง) ผักแคบ ผักแค เป็นต้น เป็นพืชผักที่มีตามฤดูกาลนำมาปรุงอาหาร ซึ่งมีให้รับประทานตลอดปี
                         การปรุงอาหารมีหลายวิธี เช่น การแกง การจอ การส้า การยำ การเจี้ยว การหลาม การปิ้ง         การป่าม การคั่วหรือผัด การหลู้ การต๋ำ เป็นต้น ทั้งนี้มักจะปรุงให้สุกมากๆ การปรุงรสอาหารของชาวจังหวัดแพร่ส่วนใหญ่จะมีรสอ่อน หรือรสเผ็ด เค็ม เปรี้ยว แต่ไม่หวานมาก ไม่นิยมใส่น้ำตาล ความหวานส่วนใหญ่จะได้มาจากส่วนประสมที่นำมาประกอบอาหาร เช่น ความหวานจากผัก ปลาต่างๆ เป็นต้น


                          อาหารในวิถีของชาวจังหวัดแพร่มีมากมายหลายอย่างชนิด คล้ายๆกับอาหารเมืองเหนือทั่วไป เช่น ลาบ แกงผัก น้ำพริก ยำจิ้นไก่ จิ้นนึ่ง งัวน้อยนึ่ง ส้ามะเขือ ต๋ำมะเขือยาว เป็นต้น อาหารที่ชาวแพร่นิยมกินเคียงกับอาหารหลักอย่างอื่น เช่น แคบหมูไข่มดส้มดอง แมงมันดอง น้ำปู เป็นต้น ทั้งนี้อาจมีส่วนประกอบหรือกรรมวิธีเล็กๆน้อยๆที่ แตกต่างไปบ้างก็ถือว่าเป็นอาหารเหนือเหมือนกัน อาหารพื้นเมืองที่ชาวจังหวัดแพร่นิยมบริโภคในชีวิตประจำวัน มีตัวอย่างดังนี้


1. ลาบขม ใช้เนื้อวัวหรือควาย มีรสขม เพราะมีส่วนประกอบที่พิเศษกว่าลาบอื่น คือ ใส่เพี้ย (ขี้ในไส้) หรือใส่น้ำดีของวัว หรือควาย ส่วนประกอบของน้ำพริกลาบ มีพริกแห้ง ข่า มะแข่วน(กำจัดต้น) หอม กระเทียม เกลือ ดีปลี โขลกรวมกันให้ละเอียด คลุกเคล้ากับเนื้อที่สับละเอียดและเครื่องในลวก กินดิบหรือคั่วลาบให้สุกก่อนก็ได้ กินกับผักสดต่างๆ(ผักกับลาบ)









2. ลาบหมู เป็นอาหารประเภทลาบ มีส่วนประกอบ เนื้อหมูสับละเอียด เครื่องในหมูต้มให้สุก น้ำพริกลาบหมูทำเช่นเดียวกับ   ลาบขม แต่เติมตะไคร้เล็กน้อย ไม่ใส่เพี้ยหรือดี เวลาคลุกต้องผักน้ำพริกลาบให้หอมก่อน แล้วจึงเอาหมูสับลงคลุกเคล้ากินได้ทั้งลาบสุกและลาบดิบ พร้อมกับผักสดต่างๆ



3. ไส้กรอก เป็นอาหารที่นำมาจากเนื้อหมูผสมเครื่องปรุงยัดลงในไส้หมู ทำเป็นขดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ฟุต นำไปปิ้งไฟ เมื่อสุกแล้วหั่นเป็นท่อนๆ รับประทานกับข้าวเหนียวร้อนๆ นิยมรับประทานกับข้าวมากกว่ากินเล่นหรือเป็นกับแกล้ม ทางเชียงใหม่เรียกว่า “ไส้อั่ว” เมืองแพร่เรียกว่า “ไส้กรอก”









4. น้ำพริกผักนึ่ง เป็นอาหารที่ชาวจังหวัดแพร่นิยมกันมาก ประกอบด้วยน้ำพริกและผักนึ่ง น้ำพริก ได้แก่      น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกตาแดง น้ำพริกแดง น้ำพริกเป้อเหล้อ น้ำพริกอี่เก๋ น้ำพริกปู น้ำพริกผัก น้ำพริกปลา เป็นต้น ผักนึ่ง คือ การนำเอาผักชนิดต่างๆมานึ่งรวมกัน เช่น ถั่วฝักยาว มะนอย(บวบเหลี่ยม) ผักกาดเขียว ผักจีหูด ฟักทอง ฟักเขียว ชะอม ผักหวาน มะเขือ มะเขือพวง มะเขือมื่น(กระเจี๊ยบมอญ) เป็นต้น นึ่งผักตามฤดูกาลที่มีรับประทานกับข้าวเหนียว ถ้ามีหมูปิ้งหรือปลาหิ้ว(ปลาช่อนตากแห้ง)     ปลาสลิด ปิ้งหรือนึ่ง แคบหมู ด้วยอีกก็  ยิ่งอร่อยน่ากินมากยิ่งขึ้น น้ำพริกผักนึ่งถ้ารับประทานกับผักลวก เรียกว่า “น้ำพริกผักลวก”








5. แกงแค เป็นแกผักรวมหลายชนิด เช่น ผักเผ็ด ใบพริก ผักตำลึง ถั่วฝักยาว มะเขืออ่อน มะเขือพวง ดอกงิ้ว ชะอม ชะพลู เป็นต้น น้ำพริกแกงแค มีส่วนประกอบจำพวก 
จะข่าน พริกแห้ง ข่า ตะไคร้ มะแข่วน กระเทียม หอม ปลาร้า เกลือ แกงแคจะเรียกตามเนื้อสัตว์ที่เอามาปรุง เช่น แกงแคไก่    แ กงแคหมู แกงแคกบ แกงแคนก แกงแคแลน แกงแคเนื้อย่าง แกงแคหนัง เป็นต้น




 6. แกงอ่อม มีแกงอ่อมเนื้อ แกงอ่อมหมู แกงอ่อมไก่ หรือแกงอ่อมเครื่องใน ส่วนผสมของน้ำพริกแกงแค แต่แกงอ่อมเคี่ยวนาน (อ่อม เป็นภาษาถิ่นเหนือ ภาษากลาง หมายถึง นานๆ) ด้วยไฟอ่อนถึงปานกลาง จึงจะอร่อยสมกับเป็นแกงอ่อม ก่อนยกลงจากเตาไฟ โรยใบมะกรูด ต้นหอม และผักชีเล็กน้อย ทำให้หอมน่ารับประทาน
ยิ่งขึ้น 





7.แกงหน่อไม้ เป็นแกงที่ใช้หน่อไม้ดิบ ทุบ หรือ ซอยเป็นแผ่นบางๆ ต้มกับน้ำใบย่านาง ปรุงกับน้ำพริกที่มีส่วนประกอบ คือ ตะไคร้ พริกหนุ่ม กระเทียม ปลาร้า เกลือ ก่อนยกลงจากเตาใส่ใบชะพลูและผักชะอมเล็กน้อย เวลารับประทานอาจปรุงน้ำปูหรือไม่ก็ได้แล้วแต่ชอบ





8. ยำไก่ เป็นอาหารประเภทยำ ปรุงน้ำพริกแบบคนเมือง ใช้เนื้อไก่ต้มสุกฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมคลุกเคล้ากับน้ำพริกที่ปรุงแล้ว มีส่วนผสมของพริกแห้ง ข่า ตะไคร้  มะแข่วน กระเทียม น้ำปลาร้าต้ม อาจเติมเห็ดฟาง หัวปลี หรือหยวกกล้วยที่ต้มสุกอย่างใดอย่างหนึ่งลงไปโรยด้วยต้นหอม ผักชี และผักชีฝรั่ง





9. ยำหน่อไม้ เป็นอาหารประเภทยำ ใช้หน่อไม้ไร่ต้มสุก ทำเป็นฝอยเส้นเล็กๆ ผสมเครื่องปรุงด้วยพริกหนุ่มหรือพริกขี้หนูสด นำไปเผาให้สุก กระเทียม น้ำปลาร้าต้มสุก หรือปลาร้าสับหมกไฟให้สุกอาจใส่งาคั่วที่โขลกให้พอแตกก็ได้ โรยด้วยต้นหอม ใบขิง ใบแมงลัก เวลารับประทาน อาจปรุงด้วยน้ำปู หรือไม่ก็ได้แล้วแต่ชอบ ผักเครื่องเคียง ได้แก่ ฝักมะริดไม้เผา (มะริดไม้ เป็นภาษาถิ่นเหนือ ภาษากลางหมายถึง ฝักเพกา) ใบขิงแมงดา    ผักปู่ย่า ผักแว่น แตงกวา เป็นต้น



10. ส้างวม เป็นอาหารประเภทปรุงโดยการส้า ใช้งวมฝักอ่อนล้างสะอาดซอยหั่นเป็นฝอย ผักกาดขาวล้างสะอาดซอยเป็นฝอย ใส่ปลาทูหรือปลาสดก็ได้ ต้มให้สุกแกะเอาแต่เนื้อโขลกรวมกับน้ำพริก มีเครื่องปรุง คือ พริกแห้งผิงพอหอม ข่า กระเทียม เกลือ ต้มน้ำปลาร้า ไข่ต้มสุก หอมซอย นำงวม น้ำพริก น้ำปลาร้าผสมให้เข้ากัน ใส่ไข่ต้ม ต้นหอมผักชี คนให้เข้ากัน อนึ่งส้างวมนี้เป็นอาหารที่นิยมรับประทานกันในชีวิตประจำวันของชาวจังหวัดแพร่เท่านั้น


 11.ยำเตา เป็นอาหารประเภทยำ (แต่ชาวบ้านนิยมเรียก ต๋ำเตา) โดยนำเตา (สาหร่ายชนิดหนึ่ง) มาล้างสะอาดหลายๆครั้งจะใช้สดหรือลวกก็ได้ สับให้ละเอียดผสมเครื่องปรุง คือ น้ำพริก พริกสดเผา กระเทียม ข่า ตะไคร้ เกลือ มะเขือมื่น และมะแว้ง โขลกรวมกับเครื่องปรุงใส่น้ำปู เติมน้ำเล็กน้อยแล้วคนให้เข้ากัน ใส่ต้นหอมซอย
 
12. เมี่ยง เมี่ยงเป็นพืชตระกูลเดียวกับใบชา ชาวจังหวัดแพร่เก็บใบอ่อนมานึ่ง แล้วหมักให้มีรสอมเปรี้ยวอมฝาด เวลาจะรับประทานดึงเส้นกลางใบออก นำมาห่อไส้เมี่ยง ซึ่งประกอบด้วย เกลือ ขิงอ่อน มะพร้าวคั่ว บางแห่งใส่กระเทียมดองด้วย เรียกว่า “เมี่ยงส้ม” ส่วนเมี่ยงหวานนั้น นำใบเมี่ยงที่นึ่งแล้วหมักกับน้ำกระเทียมดองและน้ำตาล ห่อไส้เมี่ยง โดยไม่ใส่ขิงอ่อน ส่วนเกลือจะใส่หรือไม่ก็ได้ นิยมกินเป็นอาหารว่าง และรับประทานหลังอาหารหรือใช้รับแขกทั่วไป

13. ข้าวแคบ เป็นอาหารว่าง ทำจากแป้งข้าวเหนียวหรือข้าวจ้าว นำข้าวมาหมักจนได้ที่ บี้ด้วยมือหรือโม่ให้ป่นจนเป็นเนื้อเดียวกัน ผสมน้ำ ปรุงรสด้วยเกลือเล็กน้อย โรยงาพอประมาณ นำแป้งที่ปรุงแล้วละเลงบนผ้าที่ขึงบนหม้อน้ำเดือด แซะออกตากบนคาไพ ตากแดดจนแห้งสนิท เก็บไว้ได้เป็นเวลานาน นำไปรับประทานโดยการปิ้งไฟอ่อนหรือทอดก็ได้

แหล่งที่มา http://goo.gl/jOijAa

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี จังหวัดแพร่

ประเพณีประจำปี

งานไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่แห่ตุงหลวง


                   จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 11-15 ค่ำ เดือน 4 โดยมีการจัดขบวนแห่แบบล้านนา ให้ผู้ร่วมขบวนทุกคนแต่งกายแบบพื้นเมืองแห่ผ้าขึ้นไปห่มองค์พระธาตุ   มีการทำบุญตักบาตร และจะเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุ และพระวิหารในเวลากลางคืน 

งานแอ่วสงกรานต์น้ำใจเมืองแป้ นุ่งม่อฮ่อมแต๊งามตา 



          จัดงานขึ้นบริเวณศูนย์หัตถกรรมเวียงโกศัย ในช่วงสงกรานต์ระหว่าง วันที่ 13-17 เมษายน ในเวลากลางวันจะเล่นสงกรานต์สนุกสนาน ส่วน ในเวลาค่ำจะแต่งกายด้วยชุดม่อฮ่อม ล้อมวงกินขันโตก


งานกิ๋นสลาก 



          คล้ายประเพณีถวายสลากภัตของภาคกลาง มีการจัดเครื่องไทยทาน เขียนสลากชื่อของตนติดไว้ แล้วนำไปรวมกันที่หน้าพระ ประธาน พระสงฆ์จะจับสลากขึ้นมาให้มรรคทายกประกาศ เจ้าของ สลากก็จะนำเครื่องไทยทานของตนไปถวายแด่พระสงฆ์


แหล่งข้อมลู  http://goo.gl/x9C7ij


ศาสนา และวัฒนธรรม
                    
                                        จังหวัดแพร่มีจำนวน ศาสนสถาน  ทั้งหมด  386  แห่ง  แยกเป็นวัด  265 แห่ง  พระอารามหลวง 2 แห่ง วัดที่ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา 54 แห่ง วัดร้าง  24  แห่ง โบสถ์คริสต์  28  แห่ง  มัสยิด  1 แห่ง  และโบราณสถาน  12  แห่ง 
                                        มีจำนวนบุคลากรทางศาสนา  ทั้งหมด  1,997  แยกเป็น พระภิกษุ  1,142  รูป  สามเณร  837  รูป       ผู้นำศาสนาคริสต์  17  คน  ผู้นำศาสนาอิสลาม  1  คน

ประเพณีกิจกรรมของคนแพร่  

.                     งานประเพณีกำฟ้าไทยพวน   ประเพณีกำฟ้าของไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง เพื่อจะให้เยาวชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงบรรพบุรุษของไทยพวนอย่างลึกซึ้งและหวงแหน และสร้างความสามัคคีในหมู่พวนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ประเพณีกำฟ้าระหว่างวันที่1-4 กุมภาพันธ์ ของทุกปีโดยประมาณ ฅประเพณีกำฟ้านี้ ชาวไทยพวนทุ่งโฮ้งได้ถือปฏิบัติกันมานานเป็นร้อยกว่าปีเท่ากับการอพยพลงมาจากเวียงจันทร์ และก็ไม่เคยมีคนไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง ถูกฟ้าผ่าตายเลยเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูประเพณีอันเก่าแก่ที่สืบทอดมานานทางเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง โดยนายกเทศมนตรี(นายวชิรพงศ์ โกสิน)และสภาวัฒนธรรมตำบลทุ่งโฮ้ง, ชมรมไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง, องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งโฮ้ง และชาวไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้งทุกคน จึงได้นำประเพณีกำฟ้าอันนี้มา จากที่ถือปฏิบัติแต่เดิมให้เข้าสู่ยุคสมัยนำวิถีชีวิตชาวไทยพวนทุกรูปแบบเข้าสู่สังคมไทย และสังคมโลก


 

งานเทศกาลลอยกระทง เผาเทียนเล่นไฟพะเนียงเวียงโกศัย  จัดขึ้นในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ บริเวณท่าน้ำศรีชุม ภายในงานมีการจัดงานล้อมวงกินขันโตกแต่งกายด้วยชุดม่อฮ่อม 


แหล่งข้อมลู  https://goo.gl/qa6pe2

แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดแพร่

แหล่งท่องเที่ยว

1.วัดพระธาตุช่อแฮ แพร่
ที่เที่ยว ที่เที่ยวแพร่ แพร่ เที่ยวแพร่ เที่ยวเมืองไทย ไทยเที่ยวไทย ไปไหนดี painaidii เว็บท่องเที่ยว เที่ยวไหนดี ไกด์บุค วัดพระธาตุช่อแฮ คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ คุ้มวงศ์บุรี วนอุทยานแพะเมืองผี บ้านเสาร้อยต้น อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง ศาลหลักเมืองแพร่ น้ำตกตาดหมอก ถ้ำผานางคอย

ที่เที่ยว ที่เที่ยวแพร่ แพร่ เที่ยวแพร่ เที่ยวเมืองไทย ไทยเที่ยวไทย ไปไหนดี painaidii เว็บท่องเที่ยว เที่ยวไหนดี ไกด์บุค วัดพระธาตุช่อแฮ คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ คุ้มวงศ์บุรี วนอุทยานแพะเมืองผี บ้านเสาร้อยต้น อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง ศาลหลักเมืองแพร่ น้ำตกตาดหมอก ถ้ำผานางคอย
ข้อมูล :  องค์พระธาตุช่อแฮ เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดแพร่ เป็นหนึ่งในพระธาตุประจำปีเกิดสิบสองราศีเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล(เสือ) มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสองบุด้วยทองดอกบวบสูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร เป็นศิลปะแบบเชียงแสน คำว่า "แฮ" เพี้ยนมาจากคำว่า"แพร" ซึ่งแปลว่าผ้าแพรซึ่งแปลว่าผ้าแพร และยังเชื่อกันว่าหากผู้ที่เกิดปีขาลนำผ้าแพรสามสีมาถวายจะทำให้ชีวิตมีพลังคุ้มครองป้องกันศัตรูได้
ที่ตั้ง : 1 หมู่ 11 ถนนช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 54000
โทรศัพท์ : 054-599-209, 054-599-073-4, 054-598-065
เวลาเปิด-ปิด : เปิดทุกวัน 6.00 - 18.00 น.


2. คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่

ที่เที่ยว ที่เที่ยวแพร่ แพร่ เที่ยวแพร่ เที่ยวเมืองไทย ไทยเที่ยวไทย ไปไหนดี painaidii เว็บท่องเที่ยว เที่ยวไหนดี ไกด์บุค วัดพระธาตุช่อแฮ คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ คุ้มวงศ์บุรี วนอุทยานแพะเมืองผี บ้านเสาร้อยต้น อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง ศาลหลักเมืองแพร่ น้ำตกตาดหมอก ถ้ำผานางคอย
ที่เที่ยว ที่เที่ยวแพร่ แพร่ เที่ยวแพร่ เที่ยวเมืองไทย ไทยเที่ยวไทย ไปไหนดี painaidii เว็บท่องเที่ยว เที่ยวไหนดี ไกด์บุค วัดพระธาตุช่อแฮ คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ คุ้มวงศ์บุรี วนอุทยานแพะเมืองผี บ้านเสาร้อยต้น อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง ศาลหลักเมืองแพร่ น้ำตกตาดหมอก ถ้ำผานางคอย

ข้อมูล : คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ เป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 ยุคต้น ซึ่งมีรูปทรงเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทยผสมยุโรปหรือทรงขนมปังขิง คุ้มเจ้าหลวงเก่าหลังนี้ มีความหรูหรา สง่างามและโอ่โถงมาก มีประตูถึง 72 บาน ภายใต้ตัวอาคารซึ่งสูงจากพื้นดินประมาณ2 เมตร เรื่องราวความลี้ลับของคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่นั้นเต็มไปด้วยตำนานที่น่าสะพรึงกลัวด้วยในอดีตบริเวณใต้ถุนอาคารหลังนี้เคยเป็นที่คุมขังนักโทษมานาน

ที่ตั้ง : ถนนคุ้มเดิม ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 54000

โทรศัพท์ : 054-511-411
เวลาเปิด-ปิด : เปิดทุกวัน 08.30 -16.30 น
การเดินทาง : ใช้ถนนคุ้มเดิม ตรงมาถึงหน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่

3.อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง แพร่
ที่เที่ยว ที่เที่ยวแพร่ แพร่ เที่ยวแพร่ เที่ยวเมืองไทย ไทยเที่ยวไทย ไปไหนดี painaidii เว็บท่องเที่ยว เที่ยวไหนดี ไกด์บุค วัดพระธาตุช่อแฮ คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ คุ้มวงศ์บุรี วนอุทยานแพะเมืองผี บ้านเสาร้อยต้น อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง ศาลหลักเมืองแพร่ น้ำตกตาดหมอก ถ้ำผานางคอย
ที่เที่ยว ที่เที่ยวแพร่ แพร่ เที่ยวแพร่ เที่ยวเมืองไทย ไทยเที่ยวไทย ไปไหนดี painaidii เว็บท่องเที่ยว เที่ยวไหนดี ไกด์บุค วัดพระธาตุช่อแฮ คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ คุ้มวงศ์บุรี วนอุทยานแพะเมืองผี บ้านเสาร้อยต้น อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง ศาลหลักเมืองแพร่ น้ำตกตาดหมอก ถ้ำผานางคอย

ข้อมูล : อุทยานแห่งชาติดอยผากลองอยู่ในท้องที่อำเภอลอง, อำเภอเมือง และ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ประกอบด้วยพื้นที่เป็นเขาสูงชันบางแห่งพื้นที่ราบบนเขามีหินโผล่จากพื้นดินตามธรรมชาติอย่างสลับซับซ้อน เป็นหินปูน และมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงามคือ สวนหินมหาราช จะมีหินโผล่ ซึ่งมาจากพื้นดินตามธรรมชาติอย่างสลับซับซ้อนน่าอัศจรรย์
ที่ตั้ง : ตำบลต้าผามอก อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150
เวลาเปิด-ปิด :  เปิดให้เข้าชมทุกวัน
การเดินทาง :  ใช้ถนนตรงเข้าไปเส้นทางอำเภอลอง

4. น้ำตกตาดหมอก แพร่

ที่เที่ยว ที่เที่ยวแพร่ แพร่ เที่ยวแพร่ เที่ยวเมืองไทย ไทยเที่ยวไทย ไปไหนดี painaidii เว็บท่องเที่ยว เที่ยวไหนดี ไกด์บุค วัดพระธาตุช่อแฮ คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ คุ้มวงศ์บุรี วนอุทยานแพะเมืองผี บ้านเสาร้อยต้น อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง ศาลหลักเมืองแพร่ น้ำตกตาดหมอก ถ้ำผานางคอย

ที่เที่ยว ที่เที่ยวแพร่ แพร่ เที่ยวแพร่ เที่ยวเมืองไทย ไทยเที่ยวไทย ไปไหนดี painaidii เว็บท่องเที่ยว เที่ยวไหนดี ไกด์บุค วัดพระธาตุช่อแฮ คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ คุ้มวงศ์บุรี วนอุทยานแพะเมืองผี บ้านเสาร้อยต้น อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง ศาลหลักเมืองแพร่ น้ำตกตาดหมอก ถ้ำผานางคอย


ข้อมูล : น้ำตกตาดหมอก หรือ น้ำตกแม่คอย ตั้งอยู่ในตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่  ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ22 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มี 3 ชั้น สวยงามมาก แต่ต้องเดินทางเท้าเข้าไปอีกราว 1 กิโลเมตร อีกทั้งน้ำตกตาดหมอกแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งของเมืองแพร่เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมาก และภายในน้ำตกก็ยังคงซึ่งธรรมชาติที่ร่มรื่นเต็มไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์
ที่ตั้ง : ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
เวลาเปิด-ปิด :  เปิดให้เข้าชมทุกวัน
การเดินทาง : ใช้ถนนตรงเข้าไปตำบลสวนเขื่อน ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 22 กิโลเมตร


5. ถ้ำผานางคอย แพร่

ที่เที่ยว ที่เที่ยวแพร่ แพร่ เที่ยวแพร่ เที่ยวเมืองไทย ไทยเที่ยวไทย ไปไหนดี painaidii เว็บท่องเที่ยว เที่ยวไหนดี ไกด์บุค วัดพระธาตุช่อแฮ คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ คุ้มวงศ์บุรี วนอุทยานแพะเมืองผี บ้านเสาร้อยต้น อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง ศาลหลักเมืองแพร่ น้ำตกตาดหมอก ถ้ำผานางคอย

ที่เที่ยว ที่เที่ยวแพร่ แพร่ เที่ยวแพร่ เที่ยวเมืองไทย ไทยเที่ยวไทย ไปไหนดี painaidii เว็บท่องเที่ยว เที่ยวไหนดี ไกด์บุค วัดพระธาตุช่อแฮ คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ คุ้มวงศ์บุรี วนอุทยานแพะเมืองผี บ้านเสาร้อยต้น อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง ศาลหลักเมืองแพร่ น้ำตกตาดหมอก ถ้ำผานางคอย

ข้อมูล : ถ้ำผานางคอย เป็นส่วนหนึ่งของภูเขาหินปูน ที่ตั้งตระหง่านกลางป่า ปกคลุมด้วยแมกไม้น้อยใหญ่ อดีตเมื่อผืนป่ายังอุดมสมบูรณ์ละแวกนี้เต็มไปด้วยสัตว์มากมายหลายชนิด โดยเฉพาะกวางป่า เป็นที่มาของชื่ออำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ แต่เมื่อพื้นที่ถูกแปรเป็นพื้นที่การเกษตร สัตว์ก็ค่อยๆ หายไป เหลือเพียงภูเขาหินปูน ถ้ำและหินงอกหินย้อยสวยวิจิตรอลังการ เป็นประติมากรรมที่ธรรมชาติสรรค์สร้างไว้ถ้ำแห่งนี้มิถูกร้อยเรียง เรื่องราวให้เข้ากับตำนานนิทานพื้นบ้านจากหยดหินก่อให้เกิดรูปทรงผู้หญิงกำลังโอบอุ้มลูกน้อย
ที่ตั้ง : บ้านผาหมู ตำบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ 54140
เวลาเปิด-ปิด :  เปิดให้เข้าชมทุกวัน
การเดินทาง : อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 34 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายแพร่ – ร้องกวาง – น่าน (ทางหลวงหมายเลข101) ถึงกิโลเมตร ที่ 58 - 59 เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 800 เมตร

6. วนอุทยานแพะเมืองผี แพร่


ที่เที่ยว ที่เที่ยวแพร่ แพร่ เที่ยวแพร่ เที่ยวเมืองไทย ไทยเที่ยวไทย ไปไหนดี painaidii เว็บท่องเที่ยว เที่ยวไหนดี ไกด์บุค วัดพระธาตุช่อแฮ คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ คุ้มวงศ์บุรี วนอุทยานแพะเมืองผี บ้านเสาร้อยต้น อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง ศาลหลักเมืองแพร่ น้ำตกตาดหมอก ถ้ำผานางคอย

ที่เที่ยว ที่เที่ยวแพร่ แพร่ เที่ยวแพร่ เที่ยวเมืองไทย ไทยเที่ยวไทย ไปไหนดี painaidii เว็บท่องเที่ยว เที่ยวไหนดี ไกด์บุค วัดพระธาตุช่อแฮ คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ คุ้มวงศ์บุรี วนอุทยานแพะเมืองผี บ้านเสาร้อยต้น อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง ศาลหลักเมืองแพร่ น้ำตกตาดหมอก ถ้ำผานางคอย

ข้อมูล : วนอุทยานแพะเมืองผี สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านให้ความนับถือเป็นอย่างมาก เพราะมีประวัติความเป็นมาที่ลึกลับโดยคนโบราณเล่าสืบต่อกันมาว่ามียายแก่เข้าไปเที่ยวในป่าหาผัก หาหน่อไม้มาเป็นอาหาร ได้หลงไปในที่แห่งนี้แล้วพบหลุมเงินหลุมทองจึงเอาเงินเอาทองใส่หาบจนเต็มแล้วยกใส่บ่าเพื่อจะหาบกลับบ้านแต่ก็หลงไปหลงมาในป่าแห่งนั้นเพราะเทวดาเจ้าถิ่นนั้นไม่ให้เอาไป เพียงแต่เอามาอวดให้เห็น ยายผู้นั้นจึงหาหนทางเอาหาบนั้นกลับบ้านไม่ได้จึงได้วางหาบนั้นไว้แล้วจัดแจงตัดไม้มาคาดทำเป็นราว แต่ก็ยังไม่สามารถนำหาบเงินหาบทองนั้นออกมาได้สักที ยิ่งยกเท้าไปข้างหน้าก็ยิ่งเหมือนยกถอยหลังไปอีกเหมือนหนึ่งว่ามีคนดึงหาบนั้นไว้ยายแก่จึงวางหาบไว้ที่นั่นแล้วรีบไปบอกชาวบ้านให้มาดูหาบเงินหาบทองนั้น พอชาวบ้านหลั่งไหลไปเป็นจำนวนมากครั้นเมื่อไปถึงเงินทองนั้นกลับหายไปตามป่านั้น เมื่อพบรอยเท้าจึงสะกดจามรอยเท้าไปจนถึงเสาเมโร และไม่มีรอยปรากฏไปทางอื่นเลยยายแก่กับชาวบ้านจึงได้ตั้งชื่อสถานที่นี้ว่า “แพะเมืองผี”

ที่ตั้ง : ตำบลน้ำชำ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
โทรศัพท์ : 054-627-677
เวลาเปิด-ปิด : เปิดทุกวัน 07.00 -18.00 น

แหล่งข้อมลู   http://goo.gl/4qVQGu

ที่ตั้ง ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศของจังหวัดแพร่

ที่ตั้ง

              จังหวัดแพร่ (คำเมือง: Lanna-Phrae.png) เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบระหว่างภูเขา โดยมีทิวเขาล้อมรอบ และมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านคือแม่น้ำยม

ภูมิประเทศ

             จังหวัดแพร่เป็นจังหวัดที่มีภูเขาล้อมรอบทั้งสี่ทิศ มีภูเขาที่สูงที่สุดอยู่ที่ ดอยขุนสถาน (บางชื่อเรียกว่าดอยธง) สูง 1,630 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยทั่วไปพื้นที่ราบจะมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 120-200 เมตร สำหรับตัวเมืองแพร่มีความสูง 161เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง แม่น้ำยมเป็นลำน้ำที่สำคัญที่สุดของจังหวัดแพร่ต้นกำเนิดจากเทือกเขาผีปันน้ำ อำเภอปง จังหวัดพะเยา

ภูมิอากาศ

- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม จะมีอากาศร้อน อบอ้าวอุณหภูมิสูงสุดที่เคยวัดได้ 43.6 องศาเซลเซียสเมื่อปี พ.ศ. 2526 อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในเดือนเมษายน 37.3 องศาเซลเซียส
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม-กลางเดือนตุลาคม มีน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีประมาณ 1,000-1,500 มิลมิเมตร
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม-ปลายเดือนกุมภาพันธ์ จะมีอากาศหนาวอาจถึงหนาวจัดในบางปี อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยวัดได้ 4.6 องศาเซลเซียสเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2517 อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนมกราคม 14.4 องศาเซลเซียส

อาณาเขต

- ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดพะเยาและน่าน
- ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดน่าน
- ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดลำปาง
- ทิศใต้ ติดกับจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดสุโขทัย

แหล่งที่มา https://goo.gl/UhJfNf

ตราสัญลักษณ์และคำขวัญจังหวัดแพร่




ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดแพร่


                          ตราประจำจังหวัดแพร่เป็นรูปม้ายืน และโบราณสถาน  ที่สำคัญของจังหวัดแพร่ ก็คือ พระธาตุช่อแฮประกอบอยู่บนหลังม้า


คำขวัญประจำจังหวัดแพร่

หม้อห้อมไม้สัก   ถิ่นรักพระลอ   ช่อแฮศรีเมือง   ลือเลื่องแพะเมืองผี    คนแพร่นี้ใจงาม




แหล่งข้อมลู http://goo.gl/AjtfRx



ประวัติความเป็นมาของจังหวัดแพร่










                      เมืองแพร่ หรือเมืองแป้ เป็นเมืองโบราณสร้างมาช้านานแล้วตั้งแต่อดีตกาล แต่ยังไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นในสมัยใดและใครเป็นผู้สร้าง เมืองแพร่เป็นเมืองที่ไม่มีประวัติของตนเองหรือจารึกไว้ในที่ใดๆโดยเฉพาะ นอกจากปรากฏในตำนานพงศาวดาร และจารึกของเมืองอื่นๆ บ้างเพียงเล็กน้อย เช่น หลักฐานจากตำนานเมืองเหนือ พงศาวดารโยนก และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเมืองแพร่น่าจะสร้างยุคเดียวกันกับกรุงสุโขทัย เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา น่าน ซึ่งบ้านเมืองของเมืองแพร่ ในยุคนั้นคงไม่กว้างขวางและมีผู้คนมากมายเหมือนปัจจุบัน เมืองแพร่มีชื่อเรียกกันหลายอย่าง ตำนานเมืองเหนือเรียกว่า "พลนคร" หรือ "เมืองพล" ในสมัยขอมเรืองอำนาจ ราว พ.ศ. 1470 - 1540 นั้น พระนางจามเทวีได้แผ่อำนาจเข้าครอบครองดินแดนในเขตลานนา   และได้เปลี่ยนชื่อเมืองในเขตลานนาเป็นภาษาเขมร เช่น ลำพูนเป็น หริภุญไชย น่านเป็นนันทบุรี เมืองแพร่เป็นโกศัยนคร หรือนครโกศัย ชื่อที่ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง เรียกว่า "เมืองพล" และได้กลายเสียงตามหลักภาษาศาสตร์เป็น "แพร่" ชาวเมืองนิยมออกเสียงว่า "แป้"

                             เมืองแพร่สมัยก่อนกรุงสุโขทัย พ.ศ. 1654-พ.ศ. 1773
                พงศาวดาร โยนก กล่าวถึงเมืองแพร่ว่า "จุลศักราช 461 (พ.ศ. 1654) ขุนจอมธรรมผู้ครองเมืองพะเยา เมื่อครองเมืองพะเยาได้ 3 ปี ก็เกิดโอรสองค์หนึ่ง ขนานนามว่า เจื๋อง ต่อมาได้เป็น ขุนเจื๋อง" พอขุนเจื๋องอายุได้ 16 ปี ไปคล้องช้าง ณ เมืองน่าน พระยาน่านตนชื่อว่า "พละเทวะ" ยกราชธิดาผู้ชื่อว่า นางจันทร์เทวีให้เป็นภรรยาขุนเจื๋อง  เมืองแพร่เป็นเมืองที่สร้างขึ้นแล้วในระหว่างจุลศักราช 421 - 461 (พ.ศ. 1614 - 1654) แต่คงเป็นเมืองขนาดเล็กและจะต้องเล็กกว่าเมืองพะเยาด้วย   ในระหว่าง พ.ศ. 1655 - พ.ศ. 1773 เมืองแพร่อยู่ในอำนาจการปกครองของขอมเพราะในระยะเวลาดังกล่าว ขอมเรืองอำนาจอยู่ในอาณาจักรลานนาไทย มีข้อน่าสังเกตว่าในระยะที่ขอมเรืองอำนาจได้เปลี่ยนชื่อเมืองแพร่เป็นโกศัย นคร (โกศัยหมายถึงผ้าแพรเนื้อดี) แต่ไม่มีเหตุการณ์สำคัญอะไรปรากฏให้เห็น

                              เมืองแพร่ สร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ มีชื่อเรียกกันหลายชื่อ คือ “พลนคร เมืองพล เมืองแพล” ในสมัยขอมเรืองอำนาจ ระหว่างปี     พ.ศ.๑๔๗๐-๑๕๖๐     พระนางจามเทวีเข้าครอบครองแคว้นล้านนา ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โกศัยนคร” หรือ “เวียงโกศัย” ซึ่งแปลว่า ผ้าแพร นับแต่นั้นมาก็มีเจ้าผู้ครองนครสืบต่อกันมาโดยตลอด จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครอง โดยเจ้าพิริยะชัยเทพวงศ์ (เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ที่ ๑๘) เป็นเจ้าหลวงกำกับด้วยข้าหลวงซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าได้โปรดเกล้าฯให้พระยาไชยบูรณ์ข้าหลวงคนแรก ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๕ พวกเงี้ยวได้ก่อการกบฏขึ้น โดยึดสถานีตำรวจ ศาลากลางจังหวัด ปล้นเงินคลัง และปล่อยนักโทษออกจากคุก พระยาไชยบูรณ์ถูกพวกเงี้ยว จับตัวและบังคับให้ยกเมืองให้ แต่พระยาไชยบูรณ์ไม่ยินยอมจึงถูกจับประหารชีวิต เมื่อความทราบถึงในหลวงรัชกาลที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีนำทัพหลวงเข้าปราบปรามพวกเงี้ยวจนราบคาบ เจ้าพิริยะชัยเทพวงศ์ เกรงพระราชอาญาจึงลี้ภัยไปอยู่ที่เมืองหลวงพระบางและถึงแก่พิราลัยลงในปี พ.ศ.๒๔๕๒ นับแต่นั้นมาก็ไม่มีเจ้าผู้ครองนครแพร่อีกเลย
จังหวัดแพร่ ได้ชื่อว่าเป็นประตูเมืองสู่ล้านนา เดิม เป็นนครรัฐอิสระที่ตั้งอยู่ก่อนการสถาปนา อาณาจักรล้านนา จากหลักฐานต่าง ๆ ทำให้ทราบว่าจังหวัดแพร่นั้นมีชื่อเรียกกันหลายชื่อแล้วแต่ยุคสมัย เช่น “เมืองพล” เป็นชื่อที่เก่าแก่ดั้งเดิมที่สุด จากการพบหลักฐาน ในตำนานทางเหนือ ฉบับใบลาน พ.ศ. 1824 “เมือง โกศัย” เป็นชื่อที่ปรากฏในพงศาวดารเชียงแสน“เมือง เพล” เป็นชื่อที่ปรากฏหลักฐานอยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และ “เมืองแพร่” เป็นชื่อที่คนไทยในอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยาใช้เรียกเมืองแพล แต่ได้กลายเสียง เป็นเมืองแพร่จนถึงปัจจุบัน ในพื้นที่หลายอำเภอของจังหวัดแพร่ ได้ค้นพบหลักฐานว่ามีร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เช่น ขวานหินกะเทาะ ขวานหินขัด ในเขตอำเภอ ลองอำเภอวังชิ้น เป็นต้น และที่อำเภอสองยังมีประวัติเกี่ยวกับเมืองเวียงสรองที่เป็นเมืองโบราณในวรรณคดี เรื่องลิลิตพระลอ ซึ่งทุกคนรู้จักกันดี




แหล่งที่มาข้อมลู  http://goo.gl/2dzisI